ดอกชมจันทร์ หรือ ดอกพระจันทร์ (Moonflower) เป็นดอกไม้ของไม้เลื้อยที่ถูกจัดไว้ในวงศ์ Convolvulaceae สกุล Ipomoea มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea alba L. มีอายุหลายปี (ปลูกในเขตร้อน) แต่ถ้าปลูกเขตที่อากาศค่อนข้างหนาวมีการปลูกเป็นไม้ประดับปีต่อปี ความสูงของต้นชมจันทร์ขึ้นอยู่กับค้างที่ทำให้ยึดเกาะ ลักษณะต้นและใบคล้ายกันกับต้นมอร์นิ่งกลอรี่ คือ มีใบเป็นรูปหัวใจสีเขียวเข้ม ชมจันทร์ออกดอกบริเวณซอกก้านใบ ความยาวของดอกตูมประมาณ 10-15 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกบานประมาณ 11-14 เซนติเมตร ดอกมีสีขาวและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ กลีบดอกทั้ง 5 กลีบเชื่อมติดกันดอกจะบานตั้งแต่ช่วงเย็นจนถึงกลางคืนและจะหุบในตอนเช้านี่น่าจะเป็นที่มาของชื่อว่า ชมจันทร์
ส่วนผลของต้นชมจันทร์มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูมขนาดเล็กมีเมล็ดอยู่ภายใน 2-4 เมล็ด ใช้สำหรับการขยายพันธุ์ ไม่เป็นที่ทราบอย่างชัดเจนว่า ประเทศไทยเริ่มมีการเพาะปลูกต้นชมจันทร์ตั้งแต่เมื่อใด โดยพบว่ามีปลูกบางพื้นที่ของภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการนำดอกตูมมากินเป็นอาหาร นอกจากนี้ มีการนำดอกตูมจำหน่ายในร้านผักปลอดสารพิษที่จังหวัดอุดรธานี โดยจำหน่ายร่วมกับผักปลอดสารพิษอื่น ๆ เช่น ผักหวานบ้าน และเรียกดอกชมจันทร์ว่า ดอกไม้จีน ซึ่งโดยความจริงแล้วเป็นพืชคนละชนิดกันเลยนะคะ
ปัจจุบัน ดอกชมจันทร์ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น สถานีวิจัยลำตะคอง (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย) อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จึงได้ทำการทดลองปลูกต้นชมจันทร์ โดยได้นำเมล็ดพันธุ์มาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อพิจารณาถึงความแตกต่างหรือความแปรปรวนของสายพันธุ์ที่อาจจะมีอยู่บ้าง และจะทำการทดลองผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ในการเพาะปลูกต้นชมจันทร์นั้น ก็ไม่ยุ่งยาก แถมยังเป็นพืชที่ไม่ค่อยมรแมลงมารบกวนจึงไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช ดอกชมจันทร์จึงจัดว่าเป็นพืชที่น่าสนใจในการนำมาทำหารและแสนจะปลอดภัยจากสารเคมีอีกด้วยนะคะ
การกินดอกชมจันทร์ จะกินในลักษณะที่เหมือนการกินผัก เนื่องจากมีรสชาติหวานเล็กน้อย เช่น นำมาผัดกับน้ำมันหอย นำมาลวกสำหรับทำยำ หรือจิ้มกับน้ำพริก นำมาชุบแป้งทอด และยังสามารถใช้ประกอบอาหารอื่น ๆ ได้ตามความเหมาะสม แต่ยังไม่มีรายงานว่ามีการกินดอกสดของต้นชมจันทร์นี้ ดอกชมจันทร์ยังมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ บางคน (ถ้ากินมาก) อาจมีอาการคล้ายท้องเสียได้ สถานีวิจัยลำตะคองจึงได้ส่งตัวอย่างดอกชมจันทร์ไปวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการที่สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และที่ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งมีรายงานคุณค่าทางโภชนาการในแง่พลังงาน และสารอาหารรองอื่น ๆ ของดอกชมจันทร์ 100 กรัม ดังนี้
พลังงาน (กิโลแคลอรี) ผลการวิเคราะห์ 34.96
วิตามินบี 1 (มิลลิกรัม) ผลการวิเคราะห์ 0.04
แคลเซียม (มิลลิกรัม) ผลการวิเคราะห์ 22.78
วิตามินบี 2 (มิลลิกรัม) ผลการวิเคราะห์ 0.05
ฟอสฟอรัส (มิลลิกรัม) ผลการวิเคราะห์ 38.42
วิตามินบี 3 (มิลลิกรัม) ผลการวิเคราะห์ 1.25
เหล็ก (มิลลิกรัม) ผลการวิเคราะห์ < 0.05
วิตามินซี (มิลลิกรัม) ผลการวิเคราะห์ <0.90
วิตามินเอ (g) ผลการวิเคราะห์ 136.11
โคเอนไซม์คิว (มิลลิกรัม) ผลการวิเคราะห์ <0.28
วิตามินบี 1 (มิลลิกรัม) ผลการวิเคราะห์ 0.04
แคลเซียม (มิลลิกรัม) ผลการวิเคราะห์ 22.78
วิตามินบี 2 (มิลลิกรัม) ผลการวิเคราะห์ 0.05
ฟอสฟอรัส (มิลลิกรัม) ผลการวิเคราะห์ 38.42
วิตามินบี 3 (มิลลิกรัม) ผลการวิเคราะห์ 1.25
เหล็ก (มิลลิกรัม) ผลการวิเคราะห์ < 0.05
วิตามินซี (มิลลิกรัม) ผลการวิเคราะห์ <0.90
วิตามินเอ (g) ผลการวิเคราะห์ 136.11
โคเอนไซม์คิว (มิลลิกรัม) ผลการวิเคราะห์ <0.28
ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้วิเคราะห์ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ พบว่าน้ำที่คั้นได้จากดอกชมจันทร์มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลอง และยังได้วิเคราะห์หาปริมาณของสารที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งได้แก่ ปริมาณฟีโนลิกทั้งหมด และปริมาณวิตามินซีของดอกชมจันทร์ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.32 มิลลิกรัม Gallic acid equivalent/100 กรัม และ 0.98 มิลลิกรัม/100 กรัม ตามลำดับอีกด้วย
จากผลการวิเคราะห์จึงพบสรรพคุณดอกชมจันทร์ ดังนี้
1. ดอกชมจันทร์เป็นผักที่ไขมันต่ำและมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
2. ดอกชมจันทร์มีธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส และยังประกอบด้วยวิตามินต่าง ๆ ได้แก่ วิตามินเอ บี เป็นต้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย
3. ดอกชมจันทร์มีสรรพคุณแก้ร้อนใน บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคดีซ่าน ขับปัสสาวะ และบรรเทาริดสีดวงทวาร ขณะที่เกสรดอกชมจันทร์มีสรรพคุณช่วยบำรุงประสาท ช่วยให้ผ่อนคลายทำให้สดชื่น และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อน ๆ จึงช่วยให้หลับสบาย
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วท่านผู้อ่านที่รักสุขภาพคงได้ทำความรู้จักกับเจ้าดอกชมจันทร์กันมากขึ้นจนอยากจะหาเมนูดอกชมจันทร์มาทานกันในมื้อถัด ๆ ไปกันแล้วใช่ไหมคะ ทั้งมีคุณค่าทางอาหาร มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ แถมยังมีสารต้านอนุมูลอิสระด้วย สารเคมีใรการเพาะปลูกก็แทบไม่ต้องใช้ ปลอดภัยและมีประโยชน์อย่างนี้ อย่าลืมหาโอกาสนำดอกชมจันทร์มาทำเป็นเมนูเด็ด ๆ ไว้ทานกันบ้างนะคะ
คุณค่าทางโภชนาการของดอกชมจันทร ์
พบว่า เป็นผักที่มีไขมันต่ำมาก และมีสรรพคุณเป็นยาระบาย มีฤทธิ์เย็น ประกอบด้วยสารอาหารที่ช่วยบำรุง สุขภาพเช่น แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส โปรตีน และวิตามินเอ ดอกชมจันทร์จึงเป็นอาหารที่กินไ ด้ทุกเพศทุกวัย วิตามินบีในดอกไม้จีนช่วยให้สมอ งทำงานได้ดี และเพิ่มความจำ วิตามินซีในดอกชมจันทร์ช่วยต้าน อนุมูลอิสระและกระตุ้นภูมิคุ้มก ัน ดอกชมจันทร์มีสรรพคุณแก้ร้อนใน บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคดีซ่าน ขับปัสสาวะ และบรรเทาริดสีดวงทวาร เกสรดอกชมจันทร์มีสรรพคุณช่วยบำ รุงประสาท ช่วยให้ผ่อนคลายทำให้สดชื่น และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อนๆ จึงช่วยให้หลับสบาย ดอกชมจันทร์เป็นพืชที่มีแคลอรีต ่ำ เหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก
ดอกชมจันทร์สามารถนำไปปรุงอาหาร ได้หลายชนิด และเข้ากันดีกับทั้งเนื้อสัตว์แ ละพืชผักอื่น ๆ เช่น หมู ปอดหมู ถั่วแดง น้ำผึ้งและเห็ดหูหนูต้มเนื้อหมู กับดอกชมจันทร์ กินเพื่อบำรุงตับและช่วยให้นอนห ลับได้ดี ต้มดอกชมจันทร์กับน้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลอ้อย กินตอนเช้าช่วยให้ขับถ่ายได้ดี และบรรเทาอาการริดสีดวงทวารต้มด อกชมจันทร์ 30 กรัม กับถั่วแดง 30 กรัม เติมน้ำผึ้งพอประมาณ กินช่วยขับปัสสาวะคลายร้อน และเหมาะกับผู้ที่เป็นโรคต้อหิน เรื้อรัง นึ่งหมูเนื้อแดงกับดอกชมจันทร์ กินเพื่อเพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคล อด
พบว่า เป็นผักที่มีไขมันต่ำมาก และมีสรรพคุณเป็นยาระบาย มีฤทธิ์เย็น ประกอบด้วยสารอาหารที่ช่วยบำรุง
ดอกชมจันทร์สามารถนำไปปรุงอาหาร